มหานวดาราประเภท 1เอ

มหานวดาราประเภท 1เอ เป็นประเภทย่อยของซากดาวแปรแสงประเภทหนึ่งที่เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวแคระขาว ดาวแคระขาวนี้เป็นซากดาวฤกษ์ซึ่งสิ้นสุดอายุขัยแล้ว และไม่สามารถสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นได้อีกต่อไป อย่างไรก็ดี ดาวแคระขาวที่ยังมีคาร์บอน-ออกซิเจนอยู่อาจสามารถทำปฏิกิริยาฟิวชั่นต่อไปได้อีก ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาหากอุณหภูมิของมันสูงมากพอในทางกายภาพแล้ว ดาวแคระขาวที่มีการอัตราหมุนรอบตัวเองต่ำ จะมีมวลจำกัดที่ต่ำกว่าขีดจำกัดจันทรสิกขา คือ ประมาณ 1.38 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[2][3] นี่คือขีดจำกัดมวลมากที่สุดซึ่งแรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอนยังสามารถรองรับได้ หากพ้นจากขีดจำกัดมวลนี้ ดาวแคระขาวจะเริ่มยุบตัว ถ้าดาวแคระขาวเริ่มสะสมมวลจากดาวคู่ของมัน เชื่อกันว่าแกนกลางจะมีอุณหภูมิสูงจนสามารถเริ่มการฟิวชั่นคาร์บอนได้เมื่อถึงขีดจำกัด ถ้าดาวแคระขาวรวมตัวเข้ากับดาวฤกษ์อื่น (เป็นเหตุการณ์ที่พบน้อยมาก) มันก็จะมีมวลสูงกว่าขีดจำกัดและเริ่มยุบตัวลง ซึ่งก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนเกินขีดจำกัดการจุดระเบิดของนิวเคลียร์ฟิวชั่นเช่นเดียวกัน ภายในเวลาไม่กี่วินาทีหลังจากเริ่มกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่น เศษสสารของดาวแคระขาวจะทำปฏิกิริยาภาวะความร้อนเฉียบพลัน ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมามากพอ (1–2 × 1044 จูล)[4] ในการทำให้ดาวระเบิดออกกลายเป็นมหานวดาราได้[5]มหานวดาราประเภทนี้จะให้ความส่องสว่างสูงสุดค่อนข้างคงที่ เพราะมวลของดาวแคระขาวที่ระเบิดด้วยกลไกการพอกพูนมวลนั้นเป็นมวลที่สม่ำเสมอ การที่ค่านี้ค่อนข้างเสถียรทำให้เรานิยมนำการระเบิดนี้ไปใช้เป็นเทียนมาตรฐาน เพื่อใช้วัดระยะห่างของดาราจักรแม่ของมัน เนื่องจากความส่องสว่างปรากฏของมหานวดาราจะขึ้นอยู่กับระยะห่างเป็นหลัก

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหานวดาราประเภท 1เอ http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeiasupernovap... http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeibsupernovas... http://space.newscientist.com/article/dn10114 http://space.newscientist.com/article/dn10883-brig... http://www.spaceflightnow.com/news/n0308/06superno... http://adsabs.harvard.edu/abs/1939PNAS...25..118W http://adsabs.harvard.edu/abs/1976IAUS...73...75P http://adsabs.harvard.edu/abs/1979ApJ...232..404C http://adsabs.harvard.edu/abs/1987ApJ...323..140L http://adsabs.harvard.edu/abs/1992AJ....103.1788V